Maecenas tristique.
Duis ultricies pharetra magna. Donec accumsan malesuada orci. Donec
→  อ่านรายละเอียด  
 
 

Maecenas tristique.
Duis ultricies pharetra magna. Donec accumsan malesuada orci. Donec
→  อ่านรายละเอียด  
  กระดูกสันหลังหักจากอุบุติเหตุต้องทำอย่างไร?   

 

 
           
           ปัญหาส่วนใหญ่ของคนวัยทำงานที่เข้ามารักษาที่ศูนย์โรคปวดหลัง ส่วนมากจะเป็น อาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ จะเป็นอาการที่พบมากและเป็นอาการเรื้อรัง โดยเฉพาะ กลุ่มหนุ่มสาววัยทำงาน ที่ต้องนั่งทำงานที่โต๊ะเป็นเวลานานๆ การนั่งอยู่ในรถนานๆ ขณะรถติด หรือต้องขับรถไปธุระไกลๆ เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้โรคปวดหลังระบาดหนักในกลุ่มคนเมือง คนไข้กว่า 90 % ที่มารับการรักษามีปัญหาจากการปวดหลัง รวมทั้งท่าทางการนั่งที่ไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุนำความปวดเมื่อยมาสู่ตัวคุณ เมื่อเปรียบเทียบกับการให้เวลากับการออกกำลังกายแล้วการนั่งทำงานทกวันจึงส่งผลมากกว่า


           หากจะว่าไปแล้วอาการปวดหลังในของพนักงานบริษัท ถือว่าเป็นสาเหตุหลักที่สำคัญ ที่มีการลาป่วยมากเป็นอันดับสองเลยรองจากไข้หวัดธรรมดาเลยทีเดียว เนื่องจากการนั่งเป็นการกดดันกระดูกสันหลังมากที่สุด
           การรักษาโรคปวดหลังแบ่งออกเป็นสองประเภทแล้วแต่ระยะเวลาถ้าปวดน้อยกว่า 6 สัปดาห์ ถือว่าเป็นโรคปวดหลังเฉียบพลัน แต่ถ้าหากมากกว่า 12 สัปดาห์ ถือว่าเป็นโรคปวดหลังแบบเรื้อรัง อย่างแรกหากเกิดอาการปวดหลัง จำเป็นต้องสังเกตว่ามีสาเหตุจากอะไร ถ้าหากเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราก็ควรแก้ไขเสีย อาทิ หากนอนหงาย ให้ใช้หมอนข้างใบใหญ่หนุนใต้โคนขาไว้ ซึ่งจะทำให้หลังเหยียดตรงราบกับที่นอนมากขึ้น ลดการปวดหลังจากการนอน ผิดท่าได้ ส่วนท่านอนที่ดีที่สุดเพื่อลดการปวดหลังคือ นอน ตะแคง ให้ขาล่าง เหยียดตรง ขางอ ตะโพกและเข่ากอดหมอนข้างเอาไว้
           นอกจากนี้การเปลี่ยนอิริยาบถเมื่อรู้สึกเมื่อยขณะทำงาน จะช่วยคลาย กล้ามเนื้อได้พยายามเปลี่ยนท่านั่ง หรือ ลุกเดินเพื่อผ่อนคลาย ทุก 45 นาที ก็จะทำให้ผ่อนคลายการปวดหลังได้ อุปกรณ์การทำงานก็เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันโรคปวดหลังเช่นกัน โดยควรจะเลือกเก้าอี้ที่หมุนได้เพื่อป้องกันการบิดของเอว มีที่พักของแขนขณะที่นั่งพัก ควรจะมีหมอนเล็ก ๆ รองบริเวณเอว เป็นต้น

หากท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์โรคปวดหลังโรงพยาบาลลานนา โทร. 053-999-777

  บทความเพื่อสุขภาพ  
 
 

 

 
Share |
designed by Lanna Hospital
   ไทย  | อังกฤษ